วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ข้าวแต๋น..น้ำแตงโม




ข้าวแต๋นน้ำแตงโม



  ข้าวแต๋น เป็นขนมพื้นบ้านของชาวล้านนา ทำมาจากข้าวเหนียวที่ผ่านการนึ่งสุกแล้วนำมาคลุกเคล้ากับน้ำอ้อย น้ำตาล แล้วนำไปตากแห้งจึงนำมาทอด ซึ่งในอดีตข้าวแต๋นจะได้รับความนิยมมากในช่วงที่มีเทศกาล เช่น สงกรานต์ ปอยหลวง งานบุญ งานบวช เป็นต้น
เจ้าของธุรกิจข้าวแต๋นนํ้าแตงโม เคยประกอบธุรกิจส่วนตัว จําหน่ายสินค้าพื้นบ้าน รวมทั้งขนมพื้นเมืองต่างๆ และยังเป็นวิทยากรให้กับสถาบันราชภัฎราชนครินทร์ จังหวัดฉะเชิงเทราจาก การที่มีความสนใจโครงการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ของหมู่บ้านทุ่งม่านเหนือ จังหวัดลําปาง และพี่สาวก็เป็นผู้ทําข้าวแต๋นนํ้าแตงโมที่มีชื่อเสียงรายหนึ่ง เจ้าของธุรกิจจึงหันมาจับธุรกิจข้าวแต๋นนํ้าแตงโม พร้อมกับใช้ความรู้ทางด้านการบริหาร การจัดการ และใช้ประสบการณ์ที่มีอยู่มาพัฒนาตลาดให้ดียิ่งขึ้น
ข้าวแต๋นนํ้าแตงโม กําลังไปได้ดีทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศที่ให้การยอมรับ นอกจากจะสร้างรายได้และทํากําไรได้เป็นกอบเป็นกํ าแล้ว ยังช่วยให้กลุ่มแม่บ้านที่จังหวัดลําปางกว่า 70 คน มีงานทําและมีรายได้เสริมอีกด้วย



ส่วนผสม

ข้าวสารเหนียว   5 ลิตร

-แตงโม               1 ผล

-งาขาว                1 ขีด

-เกลือป่น            1 ช้อนโต๊ะ

-น้ำตาลปี๊บ         1 ถุง

-น้ำอ้อยผง          2 ขีด

-น้ำมันพืช           1 ขวด





วิธีการจัดทำโครงงาน
1.นำ แตงโม 1 ลูก มาคั้นเอาแต่น้ำ แล้วนำไปผสมน้ำเปล่าให้ได้ 4 แก้ว ใส่เกลือ น้ำอ้อยผง งาขาวคนให้เข้ากัน เก็บใส่ภาชนะไว้ (ควรทำก่อนนี่งข้าว)
2.นำข้าวสาร(ข้าวเหนียว) มาแช่น้ำ 1 คืน นึ่งให้สุก พักไว้ให้เย็น แล้วนำมาคลุกกับ น้ำแตงโมที่เตรียมไว้แล้วทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที
3.น้ำไปกดลงในพิมพ์ ไห้แน่นพอสมควร
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgRRPfLp-StqAt8admAvCNFvQSYnVAc_qHfJ8mLQsUvAtnGNPyzuCOX5T0fLrvbQtjn-lsY6FH4IGB4shilpoCntvVj9Di6Ob9Axai_F6lP9q7dyyuzR9CsTurhQvcI5iL-jHNlEBNnp84/s1600/f.jpg

 
4.นำข้าวออกจากพิมพ์ วางบนตะแกรง แล้วนำไปตากแดด ประมาณ 1 วันครึ่ง เมื่อแห้งแล้ว เก็บใส่ถึง มัดปากถุงให้แน่น  
5.ใส่น้ำมันให้เต็มกระทะ ตั้งไฟให้ร้อนจัด เอาข้าวที่จากแห้งแล้วลงทอด ประมาณ 40 วินาที ข้าวแต๋นจะลอยชึ้น ให้ตัดออก นำมาวางบนตะแกรง เพื่อสะเด็ดน้ำมัน และพักไว้ให้เย็น
6.นำน้ำตาลปี๊บ เคียวไฟให้ตกทราย พักไว้ให้เย็นพอประมาณ แล้วนำมาหยดลงบนข้าว
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiWi9r0VzdC0kef9Wc8apUxrw5qh5EKZnI5G2IilE344XkKxJFd0yuD8XROzBceExQTyQw4AR7e1K4w5Pvf3SykJVcl66oQAnQK7lDOxN_la1dJnxoQ-hDELxglH4SUZarCmhNeMyHKk4k/s1600/sss.jpg
7.ใช้ ถุงพลาสติกสำหรับใส่อาหาร ขนาดที่ต้องการบรรจุขาย ถ้าจะให้ดี ปิดปากถุงให้มิดชิด กันลมเข้า วิธีง่ายๆ ไล่ลมออกจากถุง แล้วใช้เครื่องรีดปากถุง

ภาคผนวก

















บรรณานุกรม 




วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

E-learning คืออะไร


E-learning คืออะไร
          คำว่า e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น
          ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า e-Learning กับการเรียน การสอน หรือการอบรม ที่ใช้เทคโนโลยีของเว็บ (Web Based Technology)ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมถึงเทคโนโลยีระบบการจัดการหลักสูตร (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่างๆ โดยผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบ e-Learning นี้สามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ หรือ จากแผ่นซีดี-รอม ก็ได้ และที่สำคัญอีกส่วนคือ เนื้อหาต่างๆ ของ e-Learning สามารถนำเสนอโดยอาศัยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology) และเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ (Interactive Technology)
          คำว่า e-Learning นั้นมีคำที่ใช้ได้ใกล้เคียงกันอยู่หลายคำเช่น Distance Learning (การเรียนทางไกล) Computer based training (การฝึกอบรมโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือเรียกย่อๆว่า CBT) online learning (การเรียนทางอินเตอร์เนต) เป็นต้น ดังนั้น สรุปได้ว่า ความหมายของ e-Learning คือ รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเลคทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราว และเนื้อหา โดยสามารถมีสื่อในการนำเสนอบทเรียนได้ตั้งแต่ 1 สื่อขึ้นไป และการเรียนการสอนนั้นสามารถที่จะอยู่ในรูปของการสอนทางเดียว หรือการสอนแบบปฎิสัมพันธ์ได้ 
     

ISP


ISP หรือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต คืออะไร ISP คือ บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ซึ่งบางครั้งเรียก ISPs ก็มีความหมายอย่างเดียวกัน-ผู้เขียน) ย่อมาจากคำว่า Internet Service Provider ตามหนังสือศัพท์คอมพิวเตอร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ 4 ได้ระบุความหมายว่าหมายถึง "ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต" ISPเป็นหน่วยงานที่บริการให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัท เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ หน่วยงานราชการหรือสถาบันการศึกษา กับบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั่วไป ISP ที่เป็นหน่วยงานราชการ หรือสถาบันการศึกษา มักจะเป็นการให้บริการฟรีสำหรับสมาชิกขององค์การเท่านั้น แต่สำหรับ ISPประเภทที่ให้บริการในเชิงพาณิชย์ ผู้ใช้ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตจะต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ ISP รายนั้นๆ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งอัตราค่าบริการจะขึ้นอยู่กับ ISP แต่ละราย ข้อดีสำหรับผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ก็คือ การให้บริการที่มีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งรองรับกับความต้องการของผู้ใช้ที่แตกต่างกัน มีทั้งรูปแบบส่วนบุคคล ซึ่งจะให้บริการกับประชาชนทั่วไปที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ต และบริการในรูปแบบขององค์กร หรือบริษัท ซึ่งให้บริการกับบริษัทห้างร้าน หรือองค์กรต่าง ๆ ที่ต้องการให้พนักงานในองค์กรได้ใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ISP จะเป็นเสมือนตัวแทนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ถ้าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องการข้อมูลอะไรก็สามารถติดต่อผ่าน ISP ได้ทุกเวลา โดยวิธีการสมัครสมาชิกนั้น เราสามารถโทรศัพท์ติดต่อไปยัง ISP ที่ให้บริการต่าง ๆ ซึ่งเราสามารถเลือกรับบริการได้ 2 วิธี คือ ซื้อชุดอินเทอร์เน็ตสำเร็จรูปตามร้านทั่วไปมาใช้ และสมัครเป็นสมาชิกรายเดือน โดยใช้วิธีการติดต่อเข้าไปยัง ISP โดยตรง ซึ่งวิธีการ และรายละเอียดในการให้บริการของแต่ละที่นั้นจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบการให้บริการของ ISP รายนั้น ๆ จะกำหนด ในการเลือก ISP นั้น ต้องพิจารณาความเหมาะสมในการใช้งานของเราเป็นหลัก โดยมีหลักในการพิจารณาหลายอย่างด้วยกัน เช่น ความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตว่ามีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับหรือไม่ ดำเนินธุรกิจด้านนี้มากี่ปี มีสมาชิกใช้บริการมากน้อยขนาดไหน มีการขยายสาขาเพื่อให้บริการไปยังต่างจังหวัดหรือไม่ มีการลงทุนที่จะพัฒนาการให้บริการมากน้อยเพียงใด เป็นต้น ประสิทธิภาพของตัวระบบ ก็เป็นส่วนสำคัญที่เราจำเป็นต้องพิจารณาด้วย เช่น ความเร็วในการรับ/ส่ง สม่ำเสมอหรือไม่ (บางครั้งเร็วบางครั้งช้ามาก) สายโทรศัพท์ต้นทางหลุดบ่อยหรือไม่ หรือในบางกรณีที่เรากำลังถ่ายโอนข้อมูล มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ปรากฏว่าใช้งานไม่ได้ การเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศ ไปที่ใดบ้างด้วยความเร็วเท่าไหร่ และการเชื่อมต่อกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศเป็นอย่างไร มีสายสัญญาณหลักที่เร็ว หรือมีประสิทธิภาพสูงมากเพียงใด เพราะปัจจัยเหล่านี้จะมีผลต่อความเร็วในการใช้อินเทอร์เน็ตด้วย งานหลักของ ISP ISP : Internet Service Provider คือ บริษัทที่ให้บริการทางด้านอินเทอร์เน็ต เป็นเสมือนตัวแทนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ถ้าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องการข้อมูลอะไรก็สามารถติดต่อผ่าน ISP ได้ทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง โดยการเลือก ISP นั้น ต้องพิจารณาความเหมาะสมในการใช้งานของเราเป็นหลัก รวมถึงค่าบริการก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เราต้องคำนึงถึง โดยหลักการพิจารณา ISP นั้น เราต้องดูว่า ISP มีสายสัญญาณหลักที่เร็ว หรือมีประสิทธิภาพสูงมากเพียงใด มีสมาชิกใช้บริการมากน้อยขนาดไหน เพราะปัจจัยเหล่านี้จะมีผลต่อความเร็วในการใช้อินเทอร์เน็ตด้วย โดยวิธีการสมัครสมาชิกนั้น เราสามารถโทรศัพท์ติดต่อไปยัง ISP ที่ให้บริการต่าง ๆ ซึ่งเราสามารถเลือกรับบริการได้ 2 วิธี คือ ซื้อชุดอินเทอร์เน็ตสำเร็จรูปตามร้านทั่วไปไปใช้ และสมัครเป็นสมาชิกรายเดือน โดยใช้วิธีการติดต่อเข้าไปยัง ISP โดยตรง ซึ่งวิธีการ และรายละเอียดในการให้บริการของแต่ละที่นั้นจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบการให้บริการของ ISP รายนั้น ๆ จะกำหนด หน้าที่โดยทั่วไปของ ISP ก็อย่างที่บอกแต่แรกว่าคำว่า ISP มีหลายความหมาย หลายบทบาท ซึ่งแต่ละบทบาทนั้นความรับผิดก็จะแตกต่างกันออกไป ในที่นี้จะขอกล่าวถึงในความหมายที่เข้าใจกันโดยทั่วไป คือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เนตโดยจะรวมไปถึงบริการ Webhosting ซึ่งหมายถึง บริการให้เช่าพื้นที่ Website และผู้ที่ทำหน้าที่ดูแล Webboard สาธารณะ โดยอาจรวมถึง Webmaster ที่มีความรับผิดชอบโดยตรงกับข้อมูลที่ปรากฏบนเว็บด้วย หน้าที่หลักๆของ ISP ก็คือ การให้บริการทางอินเทอร์เน็ต การดูแล Website การตรวจสอบข้อมูลที่จะผ่านออกไปลงในเว็บ ผู้ให้บริการ ISP มี 18 แห่งคือ 1.บริษัท ล็อกซ์เล่ย์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด 2. บริษัท เคเอสซี คอมเมอร์เชียล อินเทอร์เน็ต จำกัด 3. บริษัท อินโฟ แอคเซส จำกัด 4. บริษัท สามารถ อินโฟเน็ต จำกัด 5. บริษัท เอเน็ต จำกัด 6. บริษัท ไอเน็ต (ประเทศไทย) จำกัด 7. บริษัท เวิลด์เน็ต แอน เซอร์วิส จำกัด 8. บริษัท ดาตา ลายไทย จำกัด 9. บริษัท เอเชีย อินโฟเน็ต จำกัด 10. บริษัท ดิไอเดีย คอร์ปอเรชั่น ประเทศไทย จำกัด 11. บริษัท สยาม โกลบอล แอกเซส จำกัด 12. บริษัท ซีเอส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด 13. บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด 14. บริษัท ชมะนันท์ เวิลด์เน็ต จำกัด 15. บริษัท ฟาร์อีสต์ อินเทอร์เน็ต จำกัด 16. บริษัท อีซีเน็ต จำกัด 17. บริษัท เคเบิล วายเลส จำกัด 18. บริษัท รอยเน็ต จำกัด (มหาชน)

Blog คืออะไร

Blog คืออะไร
      Blog มาจากศัพท์คำเต็มว่า WeBlog  คือ เว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ที่เจ้าของ หรือ Blogger สามารถบันทึกเรื่องราวของตนเองลงในเว็บได้ตลอดเวลา นอกจากนี้แล้ว Blog ยังเป็นพื้นที่ให้ Blogger โพสต์ข้อมูล หรือใส่ความรู้ ประสบการณ์ เพื่อเป็นวิทยาทานให้คนอื่นๆ เช่น คุณหมอ เปิดบล็อกแนะนำเรื่องสุขภาพ เป็นต้น การสร้างเว็บบล็อกสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ไม่ซับซ้อน ไม่จำเป็นต้องรู้ภาษา HTML อย่างน้อยขอให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์ ภายในเว็บบล็อก จะมีระบบบริหารจัดการเว็บไซต์พื้นฐานให้แล้ว โดยการสร้างเครื่องมือสำหรับ เขียนเรื่อง โพสรูป จัดหมวดหมู่ และลูกเล่นอื่นๆ ที่ผู้จัดทำพยายามสร้างเพื่อดึงดูดผู้คนจากทั่วโลก ให้เข้าไปใช้บริการ เสน่ห์ของบล็อกอยู่ที่ผู้อ่านและผู้เขียนสามารถโต้ตอบกันได้ (Interactive) โดยการแสดงความคิดเห็นต่อท้ายที่เรื่องนั้นๆ  ข้อแตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์ทั่วไป คือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที
      ในปัจจุบันบล็อก ถูกใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารรูปแบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ฯลฯ และกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยขณะนี้ได้มีผู้ให้บริการบล็อกมากมาย ทั้งแบบให้บริการฟรี และเสียค่าใช้จ่าย ตัวอย่างผู้ให้บริการ Blog เช่น Bloggang, exteen หรือ BlogKa หรือต่างประเทศเช่น Blogger, Wordpress, MySpace
      บล็อกซอฟต์แวร์ หรือ บล็อกแวร์ คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในอินเทอร์เน็ต ในลักษณะของระบบจัดการเนื้อหาเว็บ ที่ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และผู้เขียนหรือดูแลบล็อกจะแยกจากกันต่างหาก ส่งผลให้ผู้เขียนบล็อกสามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องมีพื้นฐานความรู้ในด้าน HTML หรือการทำเว็บไซต์แต่อย่างใด ทำให้ผู้เขียนบล็อกสามารถใช้เวลาส่วนใหญ่ในการ บริหารจัดการ เพิ่มเติม ข้อมูลและสารสนเทศแทนได้ นอกจากนี้บล็อกซอฟต์แวร์จะสนับสนุน ระบบ WYSIWYG ซึ่งทำให้ง่ายต่อการเขียน



           
ขอบคุณhttp://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/2080-blog-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html