วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์


ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์


1.ความสะดวกในการเก็บข้อมูลสามารถเก็บไว้ได้มากเเละปลอดภัยสามารถส่งข้อมูลได้ถึง200หน้า
2.ความถูกต้องของข้อมูลสามารถ จะมีการตรวจสอบข้อมูลก่อนถ้าเกิดความผิดพลาดจะมีการรรับรเละเเก้ไขใหม่
3.ความเร็วของการทำงาน สัญญานไฟฟ้าจะเร็วเท่าความเร็วเเสงจึงทำให้การส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกีกโลกหนึงเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว
4.ประหยัดต้นทุนในการสื่อสารข้อมูล การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่าย เพื่อส่งข้อมูลราคาต้นทุนจึงไม่สูงนัก เมื่อเทยบกับการส่งวิธีอื่น
5.สามารถเก็บข้อมูลเป็นศูนย์กลาง สามารถมีข้อมูลที่ส่วนกลางเพียงชุดเดียว เวลาเกิดการเปลี่ยนเเปลงสามารถเปลี่ยนเเปลงที่ส่วนกลาง
6.การใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกันได้ ในระบบเครื่อข่ายนั้นจะทำให้สามารถใช้อุปกรณ์เดียวกันได้ จึงทำให้ประหยัดทั้งงบประมาณ เเละทรัพยากร
7.การทำงานเป็นกลุ่ม สามารถใช้ประโยขน์ของระบบเเผนกเดียวกันได้เป็นอย่างดี  เช่น สามารถร่วมเเก้ไขเอกสารตัวเดียวกันตามเเผนงาน

                                                                       
http://www.google.co.th/imgres?hl=th&biw=1024&bih=643&tbm=isch&tbnid=Q3ZO9-LLNDzadM:&imgrefurl=http://www.learners.in.th/blogs/posts/374654&docid=bjFmfsQ0fHOxCM&imgurl=http://learner

วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์

4. เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์

    เทคโนโลยีในการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบใช้สาย และเทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย ดังนี้

    4.1 เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบใช้สาย
         เทคโนโลยีการส่งข้อมูลแบบใช้สาย แบ่งออกตามชนิดของสายสื่อสารได้ 3 ชนิด ดังนี้
         1.)  สายตีเกลียวคู่ ประกอบด้วยเส้นทองแดง 2 เส้นที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก พันบิดกันเป็นเกลียว เพื่อลดการบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จากสายข้างเคียงภายในเคเบิลเดียวกัน หรือจากภายนอก เนื่องจากสายตีเกลียวคู่นี้ยอมให้สัญญาณไฟฟ้าความถี่สูงผ่านได้ สำหรับอัตราการส่งข้อมูลผ่านสายตีเกลียวคู่จะขึ้นอยู่กับความหนาของสาย คือ สายทองแดงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางกว้าง จะสามารถส่งสัญญาณไฟฟ้ากำลังแรงได้ ทำให้ส่งข้อมูลได้อัตราเร็วสูง โดยทั่วไปใช้สำหรับการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล สามารถส่งได้ถึง 100 เมกะบิตต่อวินาที ในระยะทางไม่เกินร้อยเมตร เนื่องจากมีราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดีจึงมีการใช้งานอย่างกว้างขวาง สายตีเกลียวคู่มี 2 ชนิด ดีงนี้

         1.1) สายเกลียวคู่แบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวนหรือชนิดไม่หุ้มฉนวน (Un-shielded Twisted Pair : UTP) เป็นสายตีเกลียวคู่ที่ไม่มีฉนวนชั้นนอก ทำให้สะดวกในการโค้งงอ แต่สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าสายตีเกลียวคู่ชนิดหุุ้มฉนวน (STP) ใช้ในระบบวงจรโทรศัพท์แบบดั้งเดิม ปัจจุบันมีการปรับคุณสมบัติให้ดีขึ้น สามารถใช้กับสัญญาณความถี่สูงได้ และเนื่องจากมีราคาสูงจึงนิยมใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ในเครือข่าย


สายดีเกลียวคู่แบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวนหรือชนิดไม่หุ้มฉนวน

         1.2) สายตีเกลียวคู่แบบป้องกันสัญญาณรบกวนหรือชนิดหุ้มฉนวน (Shielded Twisted Pair : STP) เป็นสายตีเกลียวคู่ที่ชั้นนอกหุ้มด้วยลวดถักที่หนา เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รองรับความถี่ของการส่งข้อมูลได้สูงกว่าสายตีเกลียวคู่แบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวน แต่มีราคาแพงกว่า



สายตีเกลียวคู่แบบป้องกันสัญญาณรบกวนหรือชนิดหุ้มฉนวน 


        2. สายโคแอกซ์ (coaxial cable) มีลักษณะเช่นเดียวกับสายที่ต่อมาจากเสาอากาศประกอบด้วยลวดทองแดงที่เป็นแกนหลักหุ้มด้วยฉนวนชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว จากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำซึ่งทำจากลวดทองแดงถักเป็นเปียเพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และสัญญาณรบกวนอื่นๆ ก่อนจะหุ้มด้วยฉนวนพลาสติกสัญญาณไฟฟ้าสามารถผ่านได้สูงมาก นิยมใช้เป็นช่องสื่อสารสัญญาณเชื่อมโยงผ่านใต้ทะเลและใต้ดิน สายโคแอกซ์ที่ใช้ทั่วไปมี 2 ชนิด คือ 50 โอห์ม ซึ่งใช้ส่งข้อมูลสัญญาณดิจิทัล และชนิด 75 โอห์ม ซึ่งใช้ส่งข้อมูลสัญญาณอะนาล็อก





ลักษณะสายโคแอกซ์


         3. สายใยแก้วนำแสง (fiber optic cable) หรือเส้นใยแก้วนำแสง แกนกลางของสายประกอบด้วยเส้นใยแก้วหรือเส้นพลาสตกขนาดเล็กภายในกลวงหลายๆ เส้น อยู่รวมกัน เส้นใยแต่ละเส้นมีขนาดเล็กประมาณเส้นผมของมนุษย์ เส้นใยแต่ละเส้นห่อหุ้มด้วยเส้นใยอีกชนิดหนึ่งก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวน การส่งข้อมูลผ่านทางสื่อกลางชนิดนี้จะแตกต่างจากชนิดอื่นๆ ซึ่งจะใช้เลเซอร์วิ่งผ่านกลวงของเส้นใยแต่ละเส้น และอาศัยหลักการหักเหของแสง โดยใช้เส้นใยชั้นนอกเป้นกระจกสะท้อนแสง สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราความหนาแน่นของสัญญาณข้อมูลที่สูงมาก และไม่มีการก่อกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทำให้สามารถส่งข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพ กราฟิก เสียง หรือวีดิทัศน์ได้ในเวลาเดียวกัน แต่ยังมีข้อเสียเนื่องจากการบิดงอของสายสัญญาณจะทำให้เส้นใยหัก จึงไม่สามารถใช้สื่อกลางนี้เดินทางตามมุมตึกได้ สายใยแก้ว นำแสง มีลีกษณะพิเศษที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงแบบจุดไปจุด จึงเหมาะที่จะใช้กับการเชื่อมโยงระหว่างอาคารกับอาคารหรือระหว่างเมืองกับเมือง







        4.2 เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย 
        เทคโนโลยีการส่งข้อมูลแบบไร้สาย อาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อกลางนำสัญญาณซึ่งสามารถแบ่งตามช่วงความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ 4 ชนิด ดังนี้
        1. อินฟราเรด (Intrared) เป็นลักษณะของคลื่นที่ใช้ในการส่งข้อมูลระยะใกล้ๆ ในช่วงความถี่ที่แคบมาก ใช้ช่องทงสื่อสารน้อย มักใช้กับการสื่อสารข้อมูลที่ไม่มีสิ่งกีดขวางระหว่างตัวส่งกับตัวรับสัญญาณ โดยต้องใช้วิธีการสื่อสารตามแนวเส้นตรง ระยะทางไม่เกิน 1 – 2 เมตร ความเร็วประมาณ 4 -16 
เมกกะบิตต่อนาที เช่น การส่งสัญญาณจากรีโมตคอนโทรลไปยังโทรทัศน์ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์สองเครื่องโดยผ่านพอร์ตไออาร์ดีเอ เป็นต้น


       2. คลื่นวิทยุ (radio frequency) ใช้ส่งสัญญาณไปในอากาศ โดยมีตัวกระจายสัญญาณส่งไปยังตัวรับสัญญาณ และใช้คลื่นวิทยุในช่วงความถี่ต่างๆ กัน มีความเร็วต่ำประมาณ 2 เมกกะบิตต่อนาที เช่น การสื่อสารในระบบวิทยุเอฟเอ็ม (Frequency Modulation : FM) เอเอ็ม (Amplitude Modulation : AM)  การสื่อสารโดยใช้ระบบไร้สาย และบลูทูท


        3. ไมโครเวฟ (microwave) จะใช้การส่งสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปในอากาศพร้อมกับข้อมูลที่ต้องการส่ง และต้องมีสถานีที่ทำหน้าที่ส่งและรับข้อมูล และเนื่องจากสัญญาณไมโครเวฟจะเดินทางเป็นเส้นตรงไม่สามารถเลี้ยวหรือโค้งตามขอบโลกได้ จึงต้องมีการตั้งสถานีรับ – ส่งข้อมูลเป็นระยะๆ และส่งข้อมูลต่อกันเป็นทอดๆ ระหว่างสถานีต่อสถานี จนกว่าจะถึงสถานีปลายทาง และแต่ละสถานีจะตั้งอยู่ในที่สูง เช่น ดาดฟ้าของตึกสูล ยอดเขา เป็นต้น เพื่อหลีกเลี่ยงการชนสิ่งกีดขวางในแนวการเดินทางของสัญญาณ เหมาะกับการส่งข้อมูลในพื้นที่ห่างไกล และทุรกันดาร


       4. ดาวเทียม (satellite) เป็นสถานีรับส่งสัญญาณไมโครเวฟบนดาดฟ้า ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อหลีกเลียงข้อจำกัดของสถานีรับ – ส่งไมโครเวฟบนผิวโลก เพื่อใช้เป็นสถานีรับ – ส่ง สัญญาณไมโครเวฟบนอวกาศ และทวนสัญญาณในแนวโคจรของโลก ซึ่งจะต้องมีสถานีภาคพื้นดิน ทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณขึ้นไปบนดาวเทียมที่โคจรอยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 35,600 ไมล์ โดยดาวเทียมเหล่านั้นจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่เท่ากับการหมุนของโลก จึงเสมือนกับดาวเทียมนั้นอยู่นิ่งกับที่ขณะที่โลกหมุนรอบตัวเอง ทำให้การส่งสัญญาณไมโครเวฟจากสถานีหนึ่งขึ้นไปบนดาวเทียมและการกระจายสัญญาณจากดาวเทียมลงมายังสถานีตามจุดต่างๆ บนผิวโลกเป็นไปอย่างแม่นยำ







เอกสารอ้างอิง : หนังสื่อเรียนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

โพรโทคอลและอุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

3.โพรโทคอลและอุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
       การสื่อสารโยผ่านระบบเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ จะต้องมีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายชนิดต่างๆ กัน ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกันได้โดยตรง ดังนั้นจึงต้องมีการเปลี่ยนรูปแบบของข้อมูลที่ส่ง และกำหนดมาตราฐานทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อให้อุปกรณ์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
       3.1 โพรโทคอล
              โพรโทคอล (protocol) คือข้อตกลงอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับวิธีที่คอมพิวเตอร์จะ จัดรูปแบบและตอบรับข้อมูลระหว่างการสื่อสาร ซึ่งโพรโทคอลจะมีหลายมาตรฐาน และในแต่ละโพรโทคอลจะมีข้อดีข้อเสียต่างกันไป
              การติดต่อสื่อสารข้อมูลผ่านทางเครือข่ายนั้น จำเป็นต้องมีโพรโทคอลที่เป็นข้อกำหนดตกลงในการสื่อสารขึ้น เพื่อช่วยให้ระบบสองระบบที่แตกต่างกันสามารถสื่อสารกันอย่างเข้าใจได้โพรโทคอลนี้
เป็นข้อตกลงที่กำหนดเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ทั้งวิธีการส่งและรับข้อมูล   วิธีการตรวจสอบข้อผิดพลาดของการส่งและรับข้อมูล การแสดงผลข้อมูลเมื่อส่งและรับกันระหว่างเครื่องสองเครื่อง ดังนั้น จะเห็นได้ว่าโพรโทคอลมีความสำคัญมากในการสื่อสารบนเครือข่าย  ซึ่งหากไม่มีโพรโทคอลระดับประยุกต์แล้ว การดำเนินการภายในเครือข่ายยังมีโพรโทคอลย่อยที่ช่วยทำให้การทำงานของเครือข่ายมีประสิทธิภาพขึ้น ซึ่งโพรโทคอลที่ใช้ในการสื่อสารในปัจจุบันมีหลายประเภท ดังตัวอย่างเช่น
             1) โพรโทคอลเอชทีทีพี (Hyper Text Transfer Protocol : HTTP) เป็นโพรโทคอลหลักในการใช้งานเวิลด์ไวด์เว็บ โยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นช่องทางสำหรับเผยแพร่และแลกเปลี่ยนภาษาเอชทีเอ็มแอล (Hyper Text Markup Language : HTML) ใช้ร้องขอหรือตอบกลับระหว่างเครื่องลูกข่าย ที่ใช้โปรแกรมค้นดูเว็บกับเครื่องแม่ข่าย (web server) โดยทำงานอยู่บนโพรโทคอลทีซีพี (Transfer Control Protocol : TCP)
                                                           
                                                                        โพรโทคอล HTTP


           2) โพรโทคอลทีซีพี/ไอพี (Transfer Control Protocol / Internet Protocal  :  TCP/IP)
เป็นโพรโทคอลที่ใช้ในการสื่อสารในระบบอินเทอร์เน็ต โดยมีการระบุผู้รับ ผู้ส่งในเครือข่าย และ แบ่งข้อมูลออกเป็นแพ็กเก็ตส่งผ่านไปทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งหากการส่งข้อมูลเกิดความผิดพลาดจะมีการร้องขอให้ส่งข้อมูลใหม่


                                                การส่งข้อมูลโดยใช้โพรโทคอลทีซีพี/ไอพี

       
           3) โพรโทคอลเอสเอ็มทีพี (Simple Mail Transfer Protocol : SMTP) คือ โพรโทคอลสำหรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail) หรือเมลล์ (Email) ไปยังจุดหมายปลายทาง
           4) บลูทูท (bluetooth) เป็นโพรโทคอลที่ใช้คลื่นวิทยุความถี่ 2.4 GHz ในการรับส่งข้อมูล คล้ายกับระบบแลนไร้สาย เพื่อให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ต่อพ่วงไร้สาย เช่น เครื่องพิมพ์ เมาส์ คีย์บอร์ด  โทรศัพท์เคลื่อนที่ หูฟัง เป็นต้น เข้าด้วยกันได้สะดวก
           ปัจจุบันมีโพรโทคอลในระดับประยุกต์ใช้งานมากมาย นอกจากโพรโทคอลที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เช่น การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน ใช้โพรโทคอลชื่อเอฟทีพี (File Transfer Protocol : FTP) การโอนย้ายข่าวสารระหว่างกันใช้โพรโทคอลชื่อเอ็นเอ็นพี (Network News Transfer Protocol : NNTP) เป็นต้น จะเห็นได้ว่าการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในทุกวันนี้ เป็นผลมาจากการพัฒนาโพรโทคอลต่างๆ ขึ้นใช้งาน ซึ่งการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งจำเป็นต้องผ่านการใช้งานโพรโทคอลต่างๆหลายโพรโทคอลร่วมกัน

     3.2 อุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
           การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กลายเป็นระบบเครือข่ายได้นั้น จะต้องอาศัยอุปกรณ์ สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (network device) ซึ่งทำหน้าที่รับและส่งข้อมูลโดยผ่านทางสื่อกลาง 
ไม่ว่าจะเป็นสื่อกลางแบบใช้สาย และสื่อกลางแบบไร้สาย ซึ่งอุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
             1) เครื่องทวนสัญญาณ (repeater) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับสัญญาณดิจิทัล แล้วส่งต่อออกไปยังอุปกรณ์ตัวอื่น เหตุที่ต้องใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณ เนื่องจากการส่งสัญญาณไปในตัวกลางที่เป็นสัญญาณนั้น เมื่อระยะทางมากขึ้นแรงดันของสัญญาณจะลดลงเรื่อยๆ ทำให้ไม่สามารถส่งสัญญาณในระยะทางไกลๆได้ ดังนี้ การใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณจะทำให้สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกลขึ้น โดยสัญญาณไม่สูญหาย

เครื่องทวนสัญญาณใช้เมื่อคอมพิวเตอร์อยู่ห่างกันเพื่อป้องกันไม่้สัญญาณสูญหาย


               2) ฮับ (hub) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่ง หรือเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้าด้วยกัน สัญญาณที่ส่งมาจากฮับจะกระจายไปยังทุกเครื่องที่ต่ออยู๋กับฮับ ซึ่งแต่ละเครื่องจะเลือกรับเฉพาะข้อมูลที่ส่งมาถึงตนเองเท่านั้น

     

               3) บริดจ์ (bridge) ใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายหลายเครือข่ายเข้าด้วยกัน โดยจะต้องเป็นเครือข่ายที่ใช้โพรโทคอลเดียวกัน ซึ่งมีความสามารถมากกว่าฮับและอุปกรณ์ทวนสัญญาณ คือ สามารถกรองข้อมูลที่ส่งต่อได้ โดยการตรวจสอบว่า ข้อมูลที่ส่งนั้นปลายทางอยู่ที่ใด หากเครื่องปลายทางอยู่ภายในเครือข่ายเดียวกันกับเครื่องส่ง ก็จะส่งข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น ไม่ส่งไปยังเครือข่ายอื่น แต่หากข้อมูลมีปลายทางอยู่ที่เครือข่ายอื่น ก็จะส่งข้อมูลไปในเครือข่ายที่มีเครื่องปลายทางอยู่เท่านั้น ทำให้สามารถจัดการกับความหนาแน่นของข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


                             


         
     4) อุปกรณ์จัดหาเส้นทาง (router) สามารถกรองข้อมูลได้เช่นกับบริดจ์ แต่จะมีความสามารถมากกว่า โดยจะหาเส้นทางในการส่งกลุ่มข้อมูล (data packet) ไปยังเครื่องปลายทางในระยะทางที่สั้นที่สุดได้

 


               5) สวิตซ์ (switch) นำความสามารถของฮับกับบริดจ์มารวมกัน แต่การส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งจะไม่กระจายไปยังคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเหมือนกับฮับ เพราะสวิตซ์จะทำหน้าที่รับกล่มข้อมูลมาตรวจสอบก่อนว่าเป็นของคอมพิวเตอร์เครื่องใด แล้วนำข้อมูลนั้นส่งต่อไปยังคอมพิวเตอร์เป้าหมาย ซึ่งช่วยลดปัญหาการชนกันหรือความคับคั่งของข้อมูล


              6) เกตเวย์ (gateway) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกันไม่ว่าเครือข่ายนั้นจะใช้โพรโทคอลตัวใดก็ตาม เนื่องจากเกตเวย์สามารถแปลงรูปแบบแพ็คเก็ตของโพรโทคอลหนึ่งไปเป็นรูปแบบของอีกโพรโทคอลหนึ่งได้ เพื่อให้เหมาะสมกัยการใช้งานในเครือข่าย ทำให้สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นๆ ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด แต่ในปัจจุบันนี้ได้รวมการทำงานของเกตเวย์ไว้ในอุปกรณ์จัดเส้นทาง (router) แล้วทำให้อุปกรณ์จัดเส้นทางสามารถทำงานเป็นเกตเวย์ได้ ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องซื้อเกตเวย์อีก












เอกสารอ้างอิง : หนังสื่อเรียนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


ความหมายและพัฒนาการของการสื่อสารข้อมูล

1.ความหมายและพัฒนาการของการสื่อสารข้อมูล                


       การสื่อสาร(communication) หมายถึง การส่งข้อมูลจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่งส่วนข้อมูล (data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงสำหรับใช้เป็นหลักในการหาความจริง โดยในที่นี้อาจหมายถึงข้อมูลที่เกิดขึ้นจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ในรูปตัวเลข 0 หรือ 1 ต่อเนื่องกันไป ซึ่งเป็นค่าที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ
       ดังนั้น การสื่อสารข้อมูล (data communication) จึงหมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลในรูปตัวเลขฐานสอง ที่เกิดจากอุปกรณ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2เครื่องขึ้นไปเป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการติดต่อ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารตลอดจนแบ่งปันการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
       การติดต่อสื่อสารของมนุษย์ในสมัยโบราณมีวิธีการที่ไม่ซับซ้อนมากนัก เช่น การใช้ม้าเร็วใช้นกพิราบสื่อสาร เป็นต้น แต่เมื่อมนุษย์มีการพัฒนาความเป็นอยู่และการดำรงชีวิต เครื่องมือและอุปกรณ์ในการสื่อสารก็ได้รับการพัฒนาให้ทันสมัยก้าวหน้าควบคู่มาโดยตลอด เพื่อความสะดวกสบายในการสื่อสาร มีการใช้โทรเลข โทรศัพท์ วิทยุสื่อสาร โทรทัศน์ ดาวเทียม ระบบระบุตำแหน่งบนพื้อนโลก (Global Positioning System : GPS) ระบบ 3G และ 4G ตามลำดับ การสื่อสารที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารให้ได้ยินเสียงและได้เห็นภาพเหล่านี้ ล้สนเป็นพัฒนาการด้านความคิดของมนุษย์ที่คิดค้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการข่าวสารข้อมูลของมนุษย์ด้วยกันเองโดยสามารถสรุปพัฒนาการของกาารสื่อสารข้อมูลที่สำคัญ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันตามลำดับ


                                             

เอกสารอ้างอิง : หนังสื่อเรียนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายในยุคต่างๆ

    เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายในยุคต่างๆ

          ยุค 1G เป็นยุคที่ใช้สัญญาณวิทยุในการส่งคลื่นเสียง  โดยไม่รองรับการส่งผ่านข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น สามารถใช้งานทางด้านเสียงได้อย่างเดียว คือ สามารถโทรออก-รับสายเท่านั้น ถือเป็นยุคแรกของการพัฒนาระบบโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์ โดยวิธีการปรับสัญญาณแอนะล็อกเข้าช่องสื่อสาร ซึ่งแบ่งความถี่ออกเป็นช่องเล็กๆ ด้วยวิธีการนี้จึงมีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนช่องสัญญาณและการใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพ  เกิดการติดขัดเรื่องการขยายจำนวนเลขหมายและการขยายแถบความถี่ ซึ่งโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์ยังมีขนาดใหญ่ และใช้กำลังไฟฟ้ามากอีกด้วย
          ยุค2G เป็นยุคที่เปลี่ยนจากการส่งคลื่นทางคลื่นวิทยุแบบแอนะล็อกมาเป็นการใช้สัญญารดิจิทัล โดยส่งผ่านทางคลื่นไมโครเวฟ ทำให้สามารถใช้งานทางด้านข้อมูลได้นอกเหนือจากการใช้งานทางเสียงเพียงอย่างเดียวโดยสามารถรับส่งข้อมูลต่างๆ และเชื่อมโยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนเกิิดการกำหนดเส้นทางการเชื่อมกับสถานีฐานหรือที่เรียกว่า เซลล์ไซล์ (cell site) และก่อให้เกิดระบบ  GSM 
(Global System for Mobile Communication) ซึ่งทำให้สามารถถือโทรศัพท์เครื่องเดียวไปใช้ได้เกือบทั่วโลก หรือที่เรียกว่า บริการข้ามเครือข่าย (roaming)
                                                 
                       โทรศัพท์เคลื่อนที่ แบบ Portable Set                โทรศัพท์มือถือที่ใช้ระบบ GSM
                                                ยุค1G                                        

                                                              
                                                              โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 2G


          ยุค 3G  ใช้บริการมัลติมีเดีย และส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราเร็วที่สูงขึ้น มีความเร็วในการดาวโหลดข้อมูลสูงสุด2 เมกะบิตต่อวินาที หรือเร็วกว่าเครือข่าย EDGE ที่ใช้ในปัจจุบันเกือบ 10 เท่า มีช่องสัญญาณความถี่ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า เข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้สะดวกยิ่งขึ้น สามารถใช้การสนทนาแบบเห็นหน้า (Video telephony) และการประชุมทางไกลผ่านวิดีโอ 
(Video conference) ช่วยให้สามารถสื่อสารได้พร้อมกันทั้งภาพและเสียง รับชมโทรทัศน์หรือวิดีโออินเทอร์เน็ตในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งมีสัญญาณภาพที่คมชัด และสามารถใช้บริการข้ามเครือข่าย (roaming)
ได้เช่นเดียวกับระบบ GSM


                                                        
                                                                    โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 3G


          ยุค 4G เป็นเครือข่ายไรสายความเร็วสูงชนิดพิเศษ มีความเร็วในการสื่อสารได้ถึงระดับ 20-40 เมกกะบิด ต่อ วินาที สามารถเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ (three-dimensional : 3D) ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเองโดยให้บริการมัลติมีเดียในลักษณะที่สามารถโต้ตอบได้ เช่น อินเทอร์เน็ตไร้สาย เทเลคอนเฟอเรนซ์ เป็นต้น          


                                                

                                                                   โทรศัพท์เคลื่อนที่ ยุค 4G




       เอกสารอ้างอิง : หนังสื่อเรียนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


                                          

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บรอดแบนด์


บรอดแบนด์
 

บรอดแบนด์ คือ ระบบการสื่อสารที่มีความเร็วสูง รับปริมาณการสื่อสารได้มากมายหลายช่องสัญญาณ ซึ่งปัจจุบันระบบบรอดแบนด์ในประเทศไทยได้เข้ามาสู่ผู้ใช้งานตามบ้านแล้ว ด้วยบริการอินเทอร์เน็ตความมเร็วสูง (Asymmetric Digital Subscripber Line : ADSL) ซึ่งทำให้การใช้บริการอินเทอร์เน็ตมีความเร็วสูงสุดมากกว่า 2.0 เมกะบิดต่อวินาที แต่ในทางธุรกิจโทรคมนาคม คำว่าบรอดแบนด์อาจหมายถึง ระดับความเร็วที่มากกว่าหรือเท่ากับ 256 กิโลบิตต่อวินาที ดังนั้นจึงถือว่าระดับความเร็วขั้นต่ำสุดของบรอดแบนด์นั่นเอง


                                          



เอกสารอ้างอิง : หนังสื่อเรียนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร